Table of Contents
เจาะลึกทุกขั้นตอน สอบนักบิน Student Pilot
บทความนี้ขออุทิศให้วงการการบินไทย หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะได้ความรู้และประโยชน์จากบทความนี้เพื่อใช้ในการสอบและสมัครการเป็นนักบินพาณิชย์หรือ Student Pilot ต่อไปครับ
หากผิดพลาดประการใดทางผู้เขียนต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณ ทั้งนี้ บทความได้อ้างอิงจากข้อมูลในปัจจุบัน ข้อมูลและรายละเอียดในการสอบของแต่ละสายการบินอาจมีความเปลี่ยนแปลง ดังนั้นผู้อ่านควรหาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อความถูกต้องอีกครั้งนะครับ
ปัจจุบันการหาข้อมูลในการสอบนักบินมีอยู่ทั่วไปและสามารถเข้าถึงได้ง่าย โดยผู้สอบสามารถค้นคว้าและฝึกฝนด้วยตนเอง หรือไปติวนักบินตามศูนย์ติวนักบินต่างๆ (โดยส่วนใหญ่แล้วจะกระจุกตัวอยู่ที่กรุงเทพมหานคร)
โดยนักศึกษาที่จบใหม่หลังผ่านการอบรมเป็นศิษย์การบินเราเรียกว่า Student Pilot หรือ Cadet Pilot
เส้นทางการเข้าสู่การเป็นนักบินพาณิชย์ สำหรับบุคคลทั่วไปหรือพลเรือนนั้น มีอยู่ 2 แบบ
-
STUDENT PILOT
การสอบเข้าเป็นศิษย์การบินของสายการบินต่างๆ โดยเมื่อน้องๆสอบผ่านขั้นตอนการสอบเป็นนักบินที่แต่ละสายการบินกำหนด ก็จะต้องผ่านเรียนที่โรงเรียนการบินตามแต่ละสายการบินกำหนด โดยสายการบินที่น้องๆสังกัดจะออกค่าใช้จ่ายให้ก่อน หลังจากน้องๆ สำเร็จการศึกษาแล้วจะต้องใช้ทุนคืนให้กับสานการบินต้นสังกัดของตัวเอง โดยหักจากเงินเดือนนักบินของเรานั่นเอง
-
QUALIFIED PILOT
การใช้เงินทุนตัวเองเพื่อสมัครเรียนกับโรงเรียนการบินเองเลย โดยไม่ต้องมาแข่งขันสอบกับคู่แข่งจำนวนมากๆเพื่อขอทุนจากสายการบิน แล้วจึงนำใบ License ไปสมัครงานเพื่อเป็นนักบินของสายการบินพาณิชย์อีกทีครับ
อธิบายง่ายๆก็คือ
STUDENT PILOT ต้องสมัครสอบกับสายการบินให้ผ่านก่อนแล้วจึงไปเรียนบิน
QUALIFIED PILOT จ่ายเงินเรียนเอง ได้ License แล้วนำไปสมัครกับสายการบิน
นิยามอาชีพนักบิน
ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ ได้แก่ผู้ขับเครื่องบิน ผู้ควบคุมการบิน ในระหว่างทำการบินรวมถึงการขับเครื่องบินที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ไปรษณีย์ภัณฑ์หรือสินค้า การขับเครื่องบินเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ เช่นทดสอบ ส่งมอบ ฉีดยาฆ่าแมลงหรือยาป้องกันแมลง สำรวจทางอากาศ ถ่ายภาพทางอากาศ และสอนนักบินฝึกหัดการควบคุมเส้นทางบินของการบิน การดูแลเครื่องบินระหว่างทำการบิน และให้คำแนะนำ นักบินอื่นๆ เกี่ยวกับการบินและเส้นทางการบิน
บุคลิก 10 ข้อที่เหมาะกับอาชีพนักบิน
นักบินควรมีบุคลิกภาพที่ดี
นักบินควรพูดจามีเหตุมีผล
นักบินควรมีลักษณะความเป็นผู้นำและบุคลิกท่าทางน่าเชื่อถือ
นักบินควรมีผลการเรียนดี
นักบินควรสามารถเรียนรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆได้ง่ายและไว
นักบินควรสามารถถ่ายทอดหรืออธิบายสิ่งต่างๆให้คนอื่นเข้าใจได้ง่าย
นักบินควรมีจิตใจชอบช่วยเหลือผู้อื่น
นักบินควรสามารถโน้มน้าวผู้อื่นได้อย่างนุ่มนวล
นักบินควรมองปัญหาได้หลายมุมมอง รอบด้าน
นักบินควรเป็นคนเคารพกฎ กติกา อย่างเคร่งครัด
5 ทัศนคติที่เป็นอันตรายต่อกา รเป็น นักบินพานิชย์
1. ต่อต้านกฎและระเบียบ (Anit-authority) มีทัศนคติที่เห็นว่ากฎและระ
2.ไม่มีความรอบคอบ (Impulsivity) ปฏิบัติต่อสิ่งต่าง ๆ โดยทันทีตามสิ่งแรกที่นึกได
3.ชอบแสดงออก (Macho) มีทัศนคติที่ชอบแสดงออกออกว
4.ชอบเสี่ยง (Invulnerability) มีทัศนคติที่ชอบเสี่ยงที่เพ
5.ไม่รับรู้และรับผิดชอบต่อเห
สมัยก่อนอาชีพนักบินเป็นอะไรที่พอพูดถึงแล้วดูไกลตัวมากๆ เนื่องจากว่าคนที่จะเป็นนักบินได้นั้น ส่วนใหญ่จะมาจากนักบินทหารหรือกองทัพอากาศเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันเส้นทางการเป็นนักบินอาชีพนั้นเปิดกว้างมากๆ ซึ่งนอกเหนือจากนักบินทหารแล้ว บุคคลอื่นๆที่สนใจก็สามารถก้าวขึ้นมาเป็นนักบินได้ มีอยู่ 2 ทางหลักค่ะ 1.Student Pilot นักเรียนการบิน เป็นนักเรียนการบินของแต่ละสายการบิน ใช้ระยะเวลาเรียน 1 ปี เรียนจบการันตรีมีงานทำ และ 2. Qualified Pilot คือการสอบสำหรับผู้ที่มีใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ข้นต้นหรือที่เรียกว่า “ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี” ซึ่งในช่องทางนี้อาจจะมีทั้งนักบินใหม่และนักบินที่เคยมีประสบการณ์มาแล้วเข้าร่วมสอบเพื่อเปลี่ยนสายการบิน
นักบินมีหน้าที่อะไรบ้าง?
หน้าที่หลักของนักบิน ก็ตามชื่อเรียกเลยค่ะ นั่นคือการขับเครื่องบินโดยนักบินจะต้องกำหนดตารางในแต่ละเดือนนักบินจะต้องกำหนดตาราการบินว่าจะบินที่ไหนบ้าง ซึ่งปกติแล้วกฎสากลของนักบินจะถูกกำหนดไว้แล้วว่า 1 สัปดาห์บินได้ไม่เกิน 34 ชั่วโมง./4สัปดาห์ (28วัน) บินได้ไม่เกิน 110 ชั่วโมง และ 1 ปีบินได้ไม่เกิน 1,000 ชั่วโมง และหน้าที่อื่นๆที่ต้องควบคู่ไปกับการขับเครื่องบินตามตารางแล้วก็จะต้องตรวจสอบสภาพเครื่องทั้งภายในและภายนอกว่าพร้อมสำไหรับการบินหรือไม่ คอยสังเกตเครื่องวัดมิเตอร์ และเครื่องวัดประกอบการบินอื่นๆที่ใช้ควบคุมอากาศยาน ตรวจสอบความผิดปกติต่างๆ รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมกับหน่วยควบคุมการบินทั้งภายในและต่างประเทศก่อนทำการบินอีกด้วย
คุณสมบัติของอาชีพนักบิน
นอกเหนือจากคุณสมบัติทั่วไป (การศึกษา,อายุ,ส่วนสูง ฯลฯ) ที่ทางสายการบินแต่ละที่กำหนดขึ้นมาเพื่อรับสมัครนักบินแล้ว คุณสมบัติอื่นๆของการจะเป็นนักบินนั้น จะต้องเป็นคนที่มีปฎิภาณไหวพริบในการแก้ปัญหาหรือสถานการณ์ต่างๆได้ดี มีความใจเย็นเพื่อที่จะสามารถจัดลำดับความสำคัญได้ มีการตัดสินใจที่ดีและอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่เป็นจริงตามการวิเคราะห์หรือประเมินสถานการณ์เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของลูกเรือเป็นสำคัญ
คุณสมบัติการเป็นนักบินพาณิชย์

การศึกษา
คุณสมบัติการเป็นนักบินพาณิชย์ในเรื่องการศึกษา ปัจจุบันในประเทศไทย ผู้สอบคือผู้ที่จบปริญญาตรีคณะใดก็ได้ เพียงใช้วุฒิปริญญาตรีเท่านั้นโดยคณะสายคำนวณจะได้เปรียบบ้าง ดังนั้นจึงตอบคำถามที่ว่า ถ้าจบปริญญาตรีแต่ไม่ได้อยู่สายคำนวณจะสอบทุนนักบินได้ไหม? นั่นก็คือสามารถสอบได้นั่นเอง แต่อาจจะต้องเน้นเรื่องคำนวณมากขึ้นหน่อยในการเตรียมสอบทุนนักบิน
ภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษสำหรับการสอบนักบิน ภาษาอังกฤษสำหรับนักบินจำเป็นไหม เรียนนักบินจำเป็นต้องเก่งอังกฤษไหม??
สายตา
สายตาสั้นเป็นนักบินได้ไหม ใส่แว่นเป็นนักบินได้ไหม สายตานักบินต้องมีกฎเกณฑ์อย่างไร
คุณสมบัติการเป็นนักบินพาณิชย์ในเรื่องสายตา หากเรามีสายตาสั้นไม่เกิน 300 ห้ามเอียงเกิน 125 สามารถสอบได้เลย สามารถใส่แว่นไปตรวจร่างกายได้ แต่ถ้าสายตาสั้นอยู่ระหว่าง 300 – 500 ต้องทำเลสิกและต้องรออย่างน้อย 1 ปี (หากสายตาสั้นกว่า 500 ไม่สามารถสมัครได้ แม้ทำเลสิคมาก) หลังจากผ่าน การทำเลสิคมาแล้ว 1 ปีสามารถนำใบรับรองมาตรวจร่างกาย ทั้งนี้แต่ละสายการบินอาจมีข้อกำหนดทางสายตาสำหรับผู้สอบทุนนักบินแตกต่างกัน หรืออาจแตกต่างกันในแต่ละปี ผู้สอบทุนนักบิน Student Pilot จึงควรหาข้อมูลให้พร้อมเพื่อการเตรียมตัวในการสอบทุนนักบินพาณิชย์ Student Pilot
ส่วนสูง
ส่วนสูงนักบินส่วนใหญ่กำหนดให้นักบินควรมีส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 165 cm
สภาพร่างกาย
ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง ทุพพลภาพ ร่างกายครบ 32 ประการ
เพศ
สำหรับเพศชายต้องพ้นภาระทางทหาร
เป็นผู้หญิงสอบนักบินได้ไหม สายการบินใดรับนักบินหญิงบ้าง
คุณสมบัติการเป็นนักบินพาณิชย์ในเรื่องเพศ การสอบทุนนักบินพาณิชย์ Student Pilot ยังมีหลายสายการบินที่รับเฉพาะผู้ชาย แต่ในปัจจุบันก็มีหลายสายการบินที่เปิดรับ Student Pilot หญิง หรือนักบินหญิง
ประวัติอาชญากรรม
ไม่มีประวัติอาชญากรรม รวมถึงเมาแล้วขับ
สายการบินพาณิชย์ที่เปิดรับนักบินหญิงมีดังนี้
- สายการบินไทย แอร์เอเชีย
- สายการบินบางกอก แอร์เวย์
- สายการบินนกแอร์
- สายการบินไทยไลอ้อนแอร์
ส่วนสายการบินที่ยังไม่ได้เปิดรับนักบินหญิงมี 2 สายการบินคือ
- การบินไทย
- ไทยสมายล์




แนวทางการศึกษาต่อเพื่อเข้าสู่อาชีพ
การจะเป็นนักบินพานิชย์ได้หลังจากจบ ม.6 มีอยู่ 3 เส้นทางหลักๆเลย คือ
1.เรียนปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย คณะที่เกี่ยวกับการบินจนได้ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี แล้วสอบ Qualified pilot
2.เรียนปริญญาตรีสาขาใดก็ได้ จากนั้นเรียนการบินในสถาบันการบินเองเพื่อให้ได้ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี Qualified pilot
ในปัจจุบันสถาบันการบินในเมืองไทยมีอยู่ราว 11 แห่ง ได้แก่
- สถาบันการบินพลเรือน Civil Aviation Training Center
- วิทยาลัยการบินนานาชาติ (International Aviation College : IAC) มหาวิทยาลัยนครพนม
- โรงเรียนการบินกรุงเทพ บริษัท บางกอกเอวิเอชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด
- สถาบันการบิน มหาวิทยาลัยรังสิต
- มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาบริหารกิจการการบิน
- โรงเรียนการบินศรีราชา บริษัท ศรีราชาเอวิเอชั่น จำกัด หลักสูตรนักบินส่วนบุคคล (PPL)
- สถาบันเทคโนโลยีการบิน ม.เทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การบิน (รัฐบาลที่เดียวในประเทศไทย)
- มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ คณะวิศวกรรมการบิน Major CPL (Commercial Pilot License)
- มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ คณะวิศวกรรมการบิน Major MPL (Multi Crew Pilot License)
- โรงเรียนการบินกำแพงแสน ซึ่งจะผลิตเฉพาะนักบินที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากโรงเรียนนายเรืออากาศเท่านั้น ปัจจุบันผลิตปีละ 50 คน
- สถาบันการบิน Royal Sky Aviation Center
3.เรียนปริญญาตรีสาขาใดก็ได้ จากนั้นมาสอบชิงทุน Student Pilot
การสอบชิงทุนของสายการบิน คุณสมบัติเบื้องต้น คือ จบปริญญาตรี สาขาใดก็ได้ อายุไม่เกิน 28 ปี ไม่มีประวัติอาชญากรรม พ้นพันธะทางทหาร ส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 165 หรือ 168 ซม.แล้วแต่สายการบิน ซึ่งหลังจากเรียนจากจบสถาบันการบินจะได้ License PPL : Private Pilot License หลักสูตรนักบินส่วนบุคคล (40 ชั่วโมง) และ CPL : Commercial Pilot License นักบินพาณิชย์ (200 ชั่วโมง)
สายการบินที่เปิดรับ Student Pilot ในปัจจุบัน อาจจะเปิดทุกปี หรือมีการเว้นปีบ้าง โดยประมาณมีช่วงเวลารับสมัคร และสอบ ดังนี้
– สายการบิน การบินไทย รับสมัครช่วงเดือน มีนาคม / สอบ เมษายน-ธันวาคม
– สายการบิน ไทยแอร์เอเซีย รับสมัครช่วงเดือน เมษายน / สอบ กรกฎาคม-มกราคม
– สายการบิน ไทยสมายล์ รับสมัครช่วง เดือน มิถุนายน / สอบ กรกฎาคม-ธันวาคม
– สายการบิน บางกอกแอร์ รับสมัครช่วงเดือน พฤศจิกายน / สอบ ธันวาคม – กุมภาพันธ์
– สายการบิน ไทยไลออนแอร์ รับสมัครช่วงเดือน สิงหาคม / สอบ กันยายน-เมษายน
– สายการบิน นกแอร์ รับสมัครช่วงเดือนพฤศจิกายน / สอบ ธันวาคม-เมษายน
ผลตอบแทนที่นักบินได้รับ (เงินเดือนนักบินพาณิยช์)
และก็เป็นหัวข้อที่หลายคนสนใจเป็นหัวข้อแรกๆเลยก็คือ เงินเดือนนักบิน โดยบินก็ถือเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีเงินเดือนค่อนข้างสูงในปัจจุบัน โดยปัจจุบันนักบินใหม่จะมีเงินเดือนอยู่ที่ 60,000 + 30,000 ค่าเบี้ยเลี้ยง ในขณะที่ผู้ช่วยนักบินจะสูงขึ้นมาอีกโดยอยู่ที่ 160,000 – 180,000 บาท รายได้ที่ได้รับไม่เกี่ยวกับการบินจำนวนมากเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้นเนื่องจาก 80%ของรายได้มาจากเงินเดือนขั้นพื้นฐาน ส่วนรายได้จากการบินมีเพียง 20% เท่านั้น
แน่นอนว่าอาชีพนักบินเป็นอีกอาชีพที่มีผลตอบแทนค่อนข้างสูง รวมไปถึงความเครียดและความรับผิดชอบที่สูงขึ้นตามผลตอบแทนอีกด้วย สิ่งที่ตามมานั้นคือผลของสุขภาพ เนื่องจากนักบินจะต้องทำงานอยู่ในอากาศที่มีออกซิเจนค่อนข้างน้อยเป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าและแก่เร็ว จึงเป็นสิ่งที่นักบินต้องแลกกับรายได้ดังกล่าว
ส่วนผลกระทบต่อครอบครัวและคนรอบข้างก็จะเป็นในเรื่องเวลาที่ไม่ตรงกันเพราะนักบินไม่ได้มีกำหนดพักตายตัวเหมือนอาชีพอื่นๆที่หยุดพักเสาร์-อาทิตย์ ก็อาจจะทำให้มีเวลาให้กับครอบครัวน้อยกว่าคนในอาชีพอื่นๆ
กว่าจะก้าวเข้าสู่อาชีพนักบินจะต้องผ่านการทดสอบมากมายหลายขั้นตอนเพื่อพิสูจน์ว่าคุณมีความสามารถทำหน้าที่นี้ได้เพราะชีวิตของผู้โดยสารทุกคนอยู่ในความดูแลของคุณตลอดการเดินทาง และการส่งผู้โดยสารให้ถึงจุดหมายโดยปลอดภัยคือสิ่งที่เป็นความภาคภูมิใจของนักบินทุกคน
โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพนักบิน
ผู้ประกอบอาชีพ “นักบิน” จะมีโอกาสก้าวหน้าอย่างยิ่งในด้านเงินเดือนที่ได้รับเพิ่ม โดยเฉพาะความสามารถ และความชำนาญในการบินจะเป็นเครื่องวัดความก้าวหน้าของนักบินนั้นๆ ผู้เป็นนักบินในหน่วยงานของทางราชการ หรือองค์การต่างๆ นอกจากจะได้รับเงินเดือนตามปกติแล้วยังได้รับเงินพิเศษจากการบินด้วย
ในด้านการศึกษา อาจไปศึกษาและฝึกอบรมเพิ่มเติมในต่างประเทศได้ เพื่อให้เกิดความรู้ความชำนาญเพิ่มขึ้น เช่นการบินกับเครื่องบินหลายเครื่องยนต์ เป็นต้น
นอกจากนี้นักบินยังมีโอกาสได้ท่องเที่ยวไปในประเทศต่างๆ ทั่วโลก และนับว่าเป็นอาชีพที่มีเกียรติอาชีพหนึ่งของสังคม
——————————————
ข้อสอบนักบินการบินไทย
ข้อสอบนักบิน airasia
ข้อสอบนักบิน PDF
ข้อสอบนักบิน คณิต
ข้อสอบนักบินการบินไทย
ตัวอย่างข้อสอบ นักบิน
ข้อสอบจิตวิทยา นักบิน
แนวข้อสอบนักบิน airasia
ข้อสอบทุนนักบิน
สอบทุนนักบิน
ข้อสอบ นักบิน บางกอกแอร์เวย์
ข้อสอบ นักบิน ฟิสิกส์
หนังสือ สอบ นักบิน
สอบนักบิน อายุ